ข้อมูลพื้นฐาน

เทศบาลตำบลแจ้ห่ม  อำเภอแจ้ห่ม  จังหวัดลำปาง  ในอดีตก่อนมีการยกฐานะการปกครองเป็นเทศบาลตำบล เคยเป็นชุมชนที่เป็นเมืองหลวงที่สำคัญของอำเภอแจ้ห่ม เป็นศูนย์กลางการปกครองมีสถานที่ราชการต่างๆ สถาบันการเงิน ร้านค้าต่างๆ อยู่ในพื้นที่  ถือเป็นศูนย์กลางระบบเศรษฐกิจและการขนส่งของอำเภอแจ้ห่ม ได้รับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้จัดตั้งเป็น สุขาภิบาลแจ้ห่ม  เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2499 และมีการเปลี่ยนแปลงฐานะจาก สุขาภิบาลแจ้ห่ม เป็นเทศบาลตำบลแจ้ห่ม มีฐานะเป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2542  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542

ปัจจุบันพื้นที่เทศบาลตำบลแจ้ห่ม มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 2.7 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่บ้านเรือนประชาชน ร้อยละ 30 ของพื้นที่  เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และเป็นพื้นที่สาธารณะร้อยละ 10 ของพื้นที่  โดยเฉพาะบ้านแจ้ห่ม หมู่ 1 ตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีพื้นที่สาธารณะสำหรับให้ประชาชนทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือพื้นที่ออกกำลังกายน้อยมาก  เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของร้านค้า สถานที่ราชการและบ้านเรือนประชาชน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1. ด้านกายภาพ

–  ลักษณะที่ตั้ง

ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดลำปาง ระยะทาง 54 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม ระยะทาง 2 กิโลเมตร ห่างจากโรงพยาบาลแจ้ห่ม ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร

แผนที่แสดงอาณาเขตการปกครอง

อาณาเขตปกครอง   

ด้านทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1  ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสอยฝั่งตะวันออกตรงที่อยู่ห่างจากโรงเรียนบ้านหนองนาว  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 200  เมตร   จากหลักเขตที่ 1  เป็นเส้นตั้งฉากกับถนนสายไปอำเภอวังเหนือไปทางทิศตะวันออก  เป็นระยะ 1,100 เมตร  ซึ่ง เป็นหลักเขตที่ 2

ด้านทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2  เป็นเส้นขนานกับถนนสายแจ้ห่ม-วังเหนือ ไปทางทิศใต้ จดฝั่งเหนือของแม่น้ำวัง ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 3

ด้านใต้  จากหลักเขตที่ 3  เลียบตามฝั่งเหนือของแม่น้ำวังไปทางทิศตะวันตก   จดฝั่งเหนือของแม่น้ำสอย ตรงที่บรรจบกับแม่น้ำวัง ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 4

ด้านตะวันตก  จากหลักเขตที่ 4  เลียบตามฝั่งเหนือและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสอยไปทางทิศเหนือ จนบรรจบกับหลักเขตที่ 1

 อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ              ติดต่อกับ เขต อบต. แจ้ห่ม และ อบต.วิเชตนคร

ทิศใต้                   ติดต่อกับ เขต อบต. วิเชตนคร

ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ เขต อบต. แจ้ห่ม

ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ เขต อบต. วิเชตนคร

 –  สภาพภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเลียบแม่น้ำวัง และแม่น้ำสอย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งชุมชน เป็นศูนย์กลางในด้านการคมนาคม และมีหน่วยงานราชการ สถาบันการเงิน ตั้งอยู่ในพื้นที่

  ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะของภูมิอากาศ เนื่องจากสภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม จึงทำให้อากาศโดยทั่วไปร้อนอบอ้าว เกือบตลอดปี และถ้าหากเป็นฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเดือนละ 6.0 มิลลิเมตร ฤดูหนาวเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม

–  ลักษณะของแหล่งน้ำ

แม่น้ำวัง และแม่น้ำสอย เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านเขตตำบลแจ้ห่ม ประชาชนเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรในเขตเทศบาลตำบลแจ้ห่ม

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

           ฝ่ายการเมือง ประกอบด้วย

 1) นายกเทศมนตรี                      จำนวน           1     คน

2) รองนายกเทศมนตรี                 จำนวน           2     คน

3) เลขานุการนายกเทศมนตรี      จำนวน           1     คน

4) ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี        จำนวน           1     คน

5) สมาชิกสภาเทศบาล                จำนวน           12    คน

ฝ่ายประจำ (เฉพาะที่ปฏิบัติงานจริง ณ  เดือนเมษายน  2566  ไม่รวมตำแหน่งว่าง) ประกอบด้วย

1) พนักงานเทศบาล                จำนวน    17     คน

2) ลูกจ้างประจำ                    จำนวน     4      คน

3) พนักงานจ้าง                     จำนวน    25     คน

เทศบาลตำบลแจ้ห่ม  มีพื้นที่การปกครอง  ประมาณ  2.7 ตารางกิโลเมตร

      จำนวนหมู่บ้าน

เทศบาลตำบลแจ้ห่ม  มีหมู่บ้าน จำนวน  5  หมู่บ้าน   ได้แก่

หมู่ที่  1  บ้านแจ้ห่ม

หมู่ที่  2  บ้านป่าแดด

หมู่ที่  3  บ้านเชียงหมั้น

หมู่ที่  8  บ้านเด่น บ้านหนองนาว

หมู่ที่  9  บ้านศรีหลวงเหนือ

3. ประชากร

      3.1  ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ข้อมูลประชากร เดือนธันวาคม 2565

ชื่อหมู่บ้าน จำนวน
หลังคาเรือน (หลังคา) ประชากรชาย(คน) ประชากรหญิง(คน) รวม

(คน)

บ้านหลวง หมู่ 1 625 462 527 989
บ้านป่าแดด หมู่ 2 203 240 269 509
บ้านเชียงหมั้น หมู่ 3 136 169 170 339
บ้านเด่น-หนองนาว หมู่ 8 332 412 442 854
บ้านหลวงเหนือวัด  หมู่ 9 389 318 390 708
รวม 1,686 1,604 1,798 3,402

4. สภาพทางสังคม

4.1  การศึกษา

1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแจ้ห่ม   จำนวน  1  แห่ง

2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพีระยานาวิน   จำนวน  1  แห่ง

3) โรงเรียนระดับประถมศึกษา   จำนวน  2  แห่ง  ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลแจ้ห่ม และโรงเรียนบ้านหนองนาว

4) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม   จำนวน  1  แห่ง

4.2 สาธารณสุข

–  ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) จำนวน  5  แห่ง

–  ร้านขายยา  จำนวน  4  แห่ง

–  คลินิกเอกชน   จำนวน  1  แห่ง

5. ระบบบริการพื้นฐาน

การคมนาคม การจราจร

ถนนและซอย รวมทั้งสิ้น 111 สาย แยกเป็น

ถนน 12 สาย แยกเป็น                               ซอย 99 สาย แยกเป็น

–  ลาดยาง    12  สาย                               –  คอนกรีต 81 สาย

–   สะพาน    8    แห่ง                              –  ลาดยาง  18  สาย

–   แม่น้ำ      2    สาย   ได้แก่ แม่น้ำวัง และแม่น้ำสอย

–  หนองน้ำ    1   แห่ง   ได้แก่ หนองน้ำฝั่งหมิ่น

การจัดการขนส่งมวลชน

–  รถโดยสารสองแถว   จำนวน   30    คัน

โทรคมนาคมและการสื่อสาร

–  โทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่  2  จุด

–  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข     1   แห่ง

–  สถานีรับสัญญาณโทรศัพท์    4    แห่ง

–  ระบบเสียงตามสายเทศบาลครอบคลุมพื้นที่  5  หมู่บ้าน

–  หอกระจายข่าวหมู่บ้านในพื้นที่  5  หมู่บ้าน

–  หน่วยงานที่มีข่ายวิทยุสื่อสารในพื้นที่  2  แห่ง

(สถานีตำรวจภูธรแจ้ห่มและสำนักงานเทศบาลตำบลแจ้ห่ม)

การใช้น้ำอุปโภคบริโภค

–  จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำใช้   1,635  ครัวเรือน

ไฟฟ้า

–  จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า   1,635   ครัวเรือน

–  พื้นที่ที่ได้รับบริการไฟฟ้า  ร้อยละ    100    ของพื้นที่ทั้งหมด

–  ไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟฟ้าส่องสว่าง) จำนวน   694   จุด ครอบคลุมทุกสายในเขตเทศบาล

ลักษณะการใช้ที่ดิน

–  พื้นที่พักอาศัย                        446.81    ไร่

–  พื้นที่พาณิชยกรรม                   53.75    ไร่

–  พื้นที่ตัวหน่วยงานของรัฐ         21.68    ไร่

–  สวนสาธารณะ/นันทนาการ         119    ไร่

–  พื้นที่เกษตรกรรม                1,027.95   ไร่

6. ระบบเศรษฐกิจ

    รายได้

–  รายได้/ประชากร  รายได้เฉลี่ยของประชากร   36,161  บาท/คน/ปี

การพาณิชยกรรมและบริการ

–  ตลาดสด     2    แห่ง     (เทศบาล 1 แห่ง เอกชน 1 แห่ง)

–  ร้านค้าทั่วไป     101   แห่ง

สถานประกอบการด้านการบริการ

–  ธนาคาร    2    แห่ง (ธนาคารออมสิน และ ธนาคาร ธกส.)

–  สถานที่จำหน่ายอาหาร ตาม พ.ร.บ. สาธารณสุข   34    แห่ง

การอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมในครัวเรือนขนาดย่อม ได้แก่

– การทอผ้าพื้นเมือง    หมู่ 2   1   แห่ง           หมู่ 8    1   แห่ง           หมู่ 9    1   แห่ง

– เครื่องหนัง                หมู่ 1    1   แห่ง

– ดอกไม้ประดิษฐ์       หมู่ 2    2   แห่ง

– เย็บเสื้อผ้า                หมู่ 1   1   แห่ง            หมู่ 2    1   แห่ง            หมู่ 3    1   แห่ง           หมู่ 9    3   แห่ง

– แกะสลัก                   หมู่ 1    1   แห่ง           หมู่ 2    1   แห่ง            หมู่ 9    1   แห่ง

– สินค้าแปรรูป

น้ำปู ,น้ำผัก                หมู่ 8    1  แห่ง

ข้าวแต๋นน้ำแตงโม     หมู่ 9    1  แห่ง

 การท่องเที่ยว

–  จำนวนแหล่งท่องเที่ยว  2  แห่ง ได้แก่ หนองน้ำฝั่งหมิ่น และสวนสาธารณะสบวัง

7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

ศาสนา

–  ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

–  วัด   จำนวน   2  วัด ได้แก่ วัดศรีหลวง และวัดเชียงหมั้น

ประเพณีวัฒนธรรม

– ประเพณีท้องถิ่น ที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่, ประเพณีสงกรานต์, ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ, ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา, ประเพณีตานสลากภัต, ประเพณีสงฆ์น้ำพระธาตุ, ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

กีฬา นันทนาการ/พักผ่อน

–  สนามกีฬาอเนกประสงค์      จำนวน  6  แห่ง

–  สนามฟุตบอล                      จำนวน  3  แห่ง

–  สนามบาสเก็ตบอล             จำนวน  7  แห่ง

–  สนามตะกร้อ                       จำนวน  9  แห่ง

–  ห้องสมุดประชาชน            จำนวน  1  แห่ง

–  สนามเด็กเล่น                    จำนวน  1  แห่ง

–  สวนสาธารณะ                   จำนวน  8  แห่ง

 8. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

แหล่งน้ำ

– มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำวัง และแม่น้ำสอย

– หนองน้ำ ลำเหมือง ได้แก่ หนองน้ำฝั่งหมิ่น, ลำเหมืองหลวง, ลำเหมืองฮ่องลี่ เป็นต้น

 ขยะ

–  นำขยะไปกำจัดที่ศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร ขององค์การบริการบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

–  รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะ   รวม   2   คัน

–  ปริมาณขยะ (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2566)

ขยะทั่วไป เฉลี่ย 57.95 ตัน / เดือน

ขยะรีไซเคิล 0.732 ตัน / เดือน

ขยะอันตราย 0.23 ตัน / เดือน

 9. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

รถบรรทุกน้ำ   จำนวน     2    คัน  แยกเป็น  (แยกตามขนาดจุน้ำ)

– คันที่  1  จุน้ำได้      5,000  ลบ.ม.

– คันที่  2  จุน้ำได้     10,000  ลบ.ม.

พนักงานดับเพลิง   จำนวน   5   คน

10. การคลังท้องถิ่น
จากการบริหารรายรับ – รายจ่าย ในปีงบประมาณที่ผ่านมาเปรียบเทียบฐานะการคลังย้อนหลัง 3 ปี
ปีงบประมาณ 2555
รายรับ   36,146,334.82     บาท
รายจ่าย 31,483,288.16 บาท
ปีงบประมาณ 2556
รายรับ   39,478,359.22     บาท
รายจ่าย 34,540,527.42 บาท
ปีงบประมาณ 2557
รายรับ   45,374,912.93     บาท
รายจ่าย 41,397,852.34 บาท